วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

อาการเจ็บหน้าอก

อาการเจ็บหน้าอก





อาการเจ็บหน้าอก 

Angina

 อาการเจ็บหน้าอกเป็นอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ พบมากในผู้สูงอายุ ผู้ชายมีแนวโน้มเป็นมากกว่าผู้หญิง มักจะ เริ่มต้นด้วย อาการเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอกเมื่ออยู่ภายใต้ความเครียด หรือ ทำกิจกรรมออกกำลังกาย

ชนิดของอาการเจ็บหน้าอก มี 2 ประเภท

อาการเจ็บหน้าอกชนิดคงที่ คือ  อาการเจ็บหน้าอกปกติที่มีมานานกว่าสองเดือน อาการมักจะค่อย ๆ พัฒนาสามารถสังเกตอาการได้เมื่อออกกำลังกาย หรืออยู่ภายใต้ความเครียดมาก ๆ อาการของโรคจะดีขึ้นเมื่อได้รับการพัก

อาการเจ็บหน้าอกชนิดไม่คงที่ คือ มักจะเกิดจากการตีบฉับพลันของหลอดเลือดหัวใจ รูปแบการเกิดอาการจะไม่ชัดเจน ความเจ็บปวดและความไม่สุขสบายจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว และมีความรุนแรงมากขึ้น

อาการของโรค 

มักจะนำมาโดย การออกกำลังกาย ความเครียดทางอารมณ์ สภาพอากาศเย็น หรือหลังอาหาร อาการปวด จุก แน่น ไม่สุขสบายบริเวณหน้าอก อาการอาจจะแพร่กระจายไปยังคอ แขน หลัง หรือ ท้อง บางครั้งอาจมีอาการใจสั่น เหงื่อออก หายใจถี่ ร่วมด้วย

ภาวะแทรกซ้อน

ผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอกมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตังต่อไปนี้ หัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง วิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้า การดำเนินชีวิตประจำวันจะลำบากมากขึ้น

สาเหตุของการเกิดโรค 

การเจ็บหน้าอกชนิดคงที่เกิดจากการตีบของหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากผนังของหลอดเลือด แคบและแข็ง การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงหัวใจจะยากขึ้น การเจ็บหน้าอกชนิดไม่คงที่เกิดจากการที่ไขมันที่สะสมบนผนังของหลอดเลือดแตกออกเป็นก้อน แล้วก่อตัวเป็นลิ่มเลือด ก่อให้เกิดการอุดตันบางส่วนหรืออย่างสมบูรณ์ของหลอดเลือด ลดการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงหัวใจอย่างฉับพลัน

สาเหตุหลักของการเจ็บหน้าอกคือโรคหัวใจ หากมีอาการดังต่อไปนี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ :ความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน คอเลสเตอรอลสูง สูบบุหรี่ น้ำหนักเกิน  และประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ

การวินิจฉัยโรค 

หากมีอาการเจ็บหน้าอก ไม่สุขสบายขณะออกกำลังกายควรไปพบแพทย์โดยด่วน แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจพิเศษอื่นร่วมด้วยเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

การรักษา 
ดูแลตนเองด้วยการควบคุมวิถีการดำเนินชีวิต การใช้ยาเพื่อการควบคุมภาวะโรคที่เป็นความเสี่ยงทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง

การดูแลตัวเอง : เพื่อช่วยควบคุมอาการ และป้องกันภาวะโรคที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ ดังต่อไปนื้ งดสูบบุหรี่ หากมีน้ำหนักเกินให้พยายามลดน้ำหนัก กินอาหารเพื่อสุขภาพ เช่นอาหารที่มีไขมันต่ำ มีเส้นใยสูง ผักและผลไม้ ออกกำลังกายเป็นประจำ จำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลดความเครียด ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หากเป็นโรคเบาหวานต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

การใช้ยา : ให้เป็นไปตามคำแนะนำของแพทย์ จะได้รับยาเป็นประจำเพื่อควบคุมอาการ และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาโรคหัวใจต่อไป

การผ่าตัด

หากมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรงอาจมีการทำการทำหัตถการดังต่อไปนี้ Coronary angioplasty (การใส่บอลลูนหัวใจ) หรือ Coronary artery bypass graft (CABG) การใส่สายสวนหัวใจ

การป้องกัน

ไม่สูบบุหรี่ ลดน้ำหนักส่วนเกิน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลา 30 นาที อย่างน้อย สัปดาห์ละห้าวันรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ อาหารเส้นใยสูง ผลไม้และผัก ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น